วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูด


ผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้าดูดถ้าหากหมดสติไม่รู้สึกตัว หัวใจหยุดเต้นและไม่หายใจ สังเกตได้จากอาการที่เกิดขึ้นดังนี้ ริมฝีปากเขียว สีหน้าซีดเขียวคล้ำ ทรวงอกเคลื่อนไหวน้อยมากหรือไม่เคลื่อนไหว ชีพจรเต้นช้าและเบามาก หากหัวใจหยุดเต้นจะคล้ำชีพจรไม่พบม่านตาขยายค้างไม่หดเล็กลง การหมดสติต้องรีบให้การปฐมพยาบาลทันที เพื่อให้ปอดและหัวใจทำงาน โดยวิธีผายปอดด้วยการให้ลมหายใจทางปากหรือเรียกว่าการเป่าปาก รวมกับการนวดหัวใจก่อนนำผู้ป่วยส่งแพทย์ การปฏิบัติมีดังนี้

การผายปอดโดยวิธีให้ลมหายใจทางปาก (เป่าปาก)


1.ให้ผู้ป่วยนอนราบ จัดท่าที่เหมาะสมเพื่อเปิดทางให้อากาศเข้าสู้ปอดได้สะดวก โดยผู้ปฐมพยาบาลอยู่ทางด้านขวาหรือด้ายซ้ายบริเวณศีรษะของผู้ป่วย ใช้มือข้างหนึ่งดึงค้างผู้ป่วยหรือดันใต้คอพร้อมกับใช้มืออีกข้างหนึ่งดันหน้าผากให้แหงนขึ้น เป็นวิธีป้องกันไม่ให้ลิ้นตกไปอุดปิดทางเดินหายใจ และต้องระมัดระวังไม่ให้นิ้วมือที่ดึงคางนั้นกดลงไปในส่วนของเนื้อใต้คางเพราะจะทำให้อุดกั้นทางเดินหายใจได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กแรกเกิดไม่ควรหงายคอมากเกินไป เพราะอาจทำให้หลอดลมแฟบและอุดตันทางเดินหายใจได้
2.สอดนิ้วหัวแม่มือเข้าไปในปากผู้ป่วย จับขากรรไกรล่างยกขึ้นจนปากอ้าออก
3.ล้วงเอาสิ่งอื่นๆที่อาจติดค้างอยู่ในปากและลำคอออกให้หมด เช่น ฟันปลอม เศษอาหารเป็นต้น เพื่อไม่ให้ขว้างทางลม
4.ผู้ปฐมพยาบาลอ้าปากให้กว้างหายใจเข้าเต็มปอด มือข้างหนึ่งบีบจมูกผู้ป่วยให้แน่นสนิท ในขณะที่มืออีกข้างหนึ่งยังดึงคางผู้ป่วยอยู่ แล้วจึงประกบปากปิดปากผู้ป่วยให้สนิท พร้อมการเป่าลมเข้าไปเป็นจังหวะๆประมาณ 12-15 ครั้ง/นาที ในเด็กเล็กประมาณ 23-30 ครั้ง/นาที
5.ขณะทำการเป่าปาก ตาต้องเหลือบดูด้วยว่ามีการขยายขึ้นลงหรือไม่ หากไม่มีการกระเพื่อมขึ้นลงอาจเป็นเพราะท่านอนไม่ดีหรือมีสิ่งกีดขว้างทางเดินหายใจซึ่งต้องรีบแก้ไขจัดท่าใหม่ และอย่าให้มีสิ่งกีดขว้างทางเดินหายใจ
6.ถ้าไม่สามารถอ้าปากของผู้ป่วยได้ ให้ใช้มือบีบปากผู้ป่วยให้สนิท และเป่าปากเข้าทางจมูกแทน โดยใช้วิธีทำนองเดียวกันกับการเป่าปาก
7.ขณะนำส่งโรงพยาบาลให้ทำการเป่าปากไปด้วยจนกว่าผู้ป่วยจะฟื้น หรือได้รับการช่วยเหลือจากแพทย์แล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น