วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ข้อควรระวังในการใช้มัลติมิเตอร์


มัลติมิเตอร์เป็นมิเตอร์ที่มีส่วนประกอบของอุปกรณ์หลายชนิด แต่ละชนิดมีขนาดเล็กและบอบบาง ยิ่งในส่วนเครื่องไหวประกอบร่วมกับเข็มชี้มิเตอร์ยิ่งต้องระมัดระวังอย่างมาก ตลอดจนการนำไปใช้งานก็ต้องระมัดระวังในเรื่องปริมาณไฟฟ้าในการวัด และอีกหลายสิ่งหลายอย่าง สามารถกล่าวสรุปเป็นข้อๆได้ดังนี้
            1.ส่วนเคลื่อนไหวของมัลติมิเตอร์ ประกอบด้วยขดลวดเส้นเล็กมากๆและมีส่วนของเดือยและรองเดือยขนาดเล็กเช่นกัน มีความบอบบาง มีโอกาสชำรุดเสียหายได้ง่าย หากได้รับกระแสไหลผ่านมากเกินไป หรือหากได้รับการกระทบกระเทือนแรงๆที่เกิดจากการตกหล่น เกิดจากการถูกกระแทกแรงๆตลอดจนตั้งย่านปริมาณไฟฟ้าผิดพลาด
            2. การวัดปริมาณไฟฟ้าต่างๆ ที่ไม่ทราบค่า ครั้งแรกควรตั้งย่านวัดไว้สูงสุดไว้ก่อน เมื่อวัดค่าแล้วจึงค่อยๆลดย่านวัดต่ำลงมาให้ถูกต้องกับปริมาณไฟฟ้าที่ต้องการวัดค่า และต่อขั้ววัด บวก + ลบ – ให้ถูกต้อง
            3.การตั้งย่านวัดปริมาณไฟฟ้าชนิดหนึ่ง แต่นำไปวัดไฟฟ้าอีกชนิดหนึ่ง จะมีผลต่อการทำให้มัลติมิเตอร์ชำรุดเสียหายได้ เช่น ตั้งย่านวัดกระแส แต่นำไปวัดแรงดันเป็นต้น
            4.ห้ามวัดค่าความต้านทานด้วยย่านวัดโอห์มของมัลติมิเตอร์ ในวงจรที่มีกำลังไฟฟ้าจ่ายอยู่ เพราะจะทำให้ย่านวัดโอห์มชำรุดเสียหายได้ ต้องตัดไฟจากวงจรก่อนและปลดขาตัวต้านทานหรือขาอุปกรณ์ตัวที่ต้องการวัดออกจากวงจรเสียก่อน
            5.ขณะพักการใช้มัลติมิเตอร์ทุกครั้งควรปรับสวิตซ์เลือกย่านไฟฟ้าที่ย่าน 1000 VDC หรือ 1000 VAC เสมอ เพราะเป็นย่านวัดที่มีความต้านทานผ่ายในมัลติมิเตอร์สูงสด เป็นการป้องกันการผิดพลาดในการใช้งานครั้งต่อไป เมื่อลืมตั้งย่านวัดที่ต้องการ ในมัลติมิเตอร์บางรุ่นอาจมีตำแหน่ง off บนสวิตซ์เลือกย่านวัด ให้ปรับสวิตซ์เลือกย่านวัดไปที่ตำแหน่ง off เสมอ เพราะเป็นการตัดวงจรมัลติมิเตอร์ออกขากจากขั้ววัด
            6.ถ้าต้องการหยุดการใช้งานมัลติมิเตอร์เป็นเวลานานๆ หรืองดใช้มัลติมิเตอร์ ควรปลดแบตเตอรี่ที่ใส่ไว้ในมัลติมิเตอร์ออกจากมัลติมิเตอร์ให้หมด เพื่อป้องกันการเสื่อมของแบตเตอรี่และการเกิดสารเคมีไหลออกมาจากแบตเตอรี่ อาจกัดกร่อนอุปกรณ์ภายในมัลติมิเตอร์จนชำรุดเสียหายได้


ตำแหน่งแบตเตอรี่และ ฟิวส์ในมัลติมิเตอร์

            7.ในกรณีที่ตั้งย่านวัดผิดพลาด จนทำให้มัลติมิเตอร์วัดค่าประมาณไฟฟ้าอื่นๆไม่ขึ้น ให้ตรวจสอบฟิวส์ที่อยู่ภายในมัลติมิเตอร์ เป็นตัวป้องกันไฟเกินว่าขาดหรือไม่ หากฟิวส์ขาดให้ใส่ฟิวส์สำรองที่มีอยู่ใส่แทน และทดลองใช้มัลติมิเตอร์อีกครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น