จากการศึกษาโครงสร้างภายในของวัตถุหรือสสารต่างๆ
พบว่ามีส่วนประกอบเล็กๆของวัตถุหรือสสารเหมือนกัน
โดยเมื่อทำการแยกวัตถุหรือสสารออกให้เหลือส่วนเล็กๆ จะได้โมเลกุลแยกออกอีกได้อะตอม
นำอะตอมมาแยกออกอีกได้
นิวเคลียสและอิเล็กตรอนภายในนิวเคลียสยังประกอบด้วยนิวตรอนและโปรตอน โครงเหล่านี้เล็กมากจนไม่สามารถมองได้ด้วยตาเปล่า
เหมือนกับเชื้อโรค
การมองต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ขยายเป็นพันล้านเท่าจึงจะมองเห็นอะตอมได้
การแยกน้ำออกเป็นส่วนประกอบเล็กๆ
เมื่อนำสสารเช่นน้ำมาแยกออกจนเหลือส่วนที่เล็กที่สุดที่ยังคงคุณสมบัติของสสารนั้นอยู่
เรียกส่วนนี้ว่า โมเลกุล (Molecule) เช่น
น้ำเมื่อแยกให้เหลือส่วนที่เล็กที่สุดของน้ำที่ยังแสดงให้เห็นว่ายังเป็นน้ำอยู่
เรียกว่า โมเลกุลของน้ำ แต่โมเลกุลยังไม่ใช้ส่วนที่เล็กที่สุดจริง
เพราะภายในโมเลกุลยังมีส่วนที่เล็กกว่าประกอบรวมกันอยู่
เมื่อแยกโมเลกุลให้เป็นส่วนย่อยลงไปอีก จะได้อะตอม (Atom) โดยถือว่าอะตอมเป็นส่วนที่เล็กที่สุดของสสาร
การแยกสสารถึงอะตอมแล้ว สภาพของสสารนั้นจะเปลี่ยนแปลงไป ไม่คงสภาพของสสารเดิม เช่น
น้ำในขณะเป็นโมเลกุล ยังบอกได้ว่านั้นคือน้ำ แต่ในขณะที่เป็นอะตอมไม่สามารถบอกได้ว่านั้นคือน้ำ
กลายเป็นอะตอมของไฮโดรเจน (H) และอะตอมของออกซิเจน (O) เพราะโครงสร้างของน้ำประกอบขึ้นจากการรวมตัวของไฮโดรเจน
และออกซิเจน โดยมีไฮโดเจนสองอะตอมและออกซิเจนหนึ่งอะตอม
รวมกันขึ้นเป็นน้ำหนึ่งโมเลกุล ในวัตถุหรือสสารต่างๆ แต่ละโมเลกุลมีส่วนประกอบของอะตอมธาตุแตกต่างกัน
เมื่อนำอะตอมของวัตถุหรือสสารต่างๆ
มาทำการวิเคราะห์ พบว่าส่วนประกอบของโครงสร้างอะตอม ภายในประกอบด้วยนิวเคลียส (Nucleus)
อยู่ตอนกลางของอะตอมจะหยุดนิ่งอยู่กับที่
ภายในนิวเคลียสมีส่วนประกอบของประจุไฟฟ้าบรรจุอยู่คือ โปรตอน (Proton) มีประจุไฟฟ้าเป็นบวก (+) และนิวตรอน (Neutron) ไม่มีประจุไฟฟ้า ถือว่าเป็นกลางทางไฟฟ้า
ส่วนรอบๆนิวเคลียสมีอิเล็กตรอนวิ่งเคลื่อนที่วนรอบนิวเคลียส อิเล็กตอนมีประจุไฟฟ้าเป็นลบ
(-)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น