สเกลหน้าปัดของมัลติมิเตอร์ จะมีหลายสเกลแต่ละสเกลใช้แสดงค่าปริมาณไฟฟ้าแตกต่างกัน
ถูกแยกสเกลออกเป็นหลายช่องหลายแถว
แต่ละช่องแต่ละแถวใช้แสดงปริมาณไฟฟ้าแต่ละชนิดโดยเฉพาะ
การใช้การอ่านค่าจำเป็นต้องทำความเข้าใจ เพื่อการใช้งานที่ถูกต้อง
จากรูป
แสดงสเกลหน้าปัดสำหรับแสดงค่าปริมาณไฟฟ้าชนิดต่างๆของมัลติมิเตอร์ซันวารุ่น yx-360TR
แต่ละสเกลใช้แสดงปริมาณไฟฟ้าแต่ละชนิด ถูกกำกับไว้ด้วยหมายเลข
แต่ละส่วนอธิบายรายละเอียดได้ดังนี้
หมายเลข 1 คือสเกลใช้แสดงความต้านทาน (Ω) ใช้สำหรับอ่านค่าความต้านทานเมื่อตั้งย่านวัดความต้านทาน
หมายเลข 2 คือสเกลใช้แสดงค่าแรงดันไฟฟ้าตรง(DCV)
และกระแสไฟฟ้าตรง (DCA) ใช้สำหรับอ่านค่าแรงดันไฟฟ้าตรง
เมื่อตั้งย่านวัดแรงดันไฟฟ้าตรงหรือย่าน DCA และใช้สำหรับอ่านค่ากระแสไฟตรง
เมื่อตั้งย่านวัดแรงดันไฟฟ้าตรงหรือย่าน DCmA
หมายเลข 3 คือสเกลใช้แสดงค่าแรงดันไฟฟ้าสลับ (ACV) ใช้สำหรับอ่านค่าแรงดันไฟฟ้าสลับ หมายเลข
4 คือสเกลใช้แสดงค่าอัตราขยายกระแสไฟฟ้าตรงของตัวทรานซิสเตอร์ ใช้สำหรับอ่านค่าอัตราขยายกระแสไฟตรงของทรานซิสเตอร์เมื่อตั้งย่านวัดโอห์ม
(Ω)
หมายเลข 5 คือสเกลแสดงกระแสรั่วซึมหรือกระแสรั่วไหล (Leakage
Current) ของตัวทรานซิสเตอร์ ใช้สำหรับอ่านค่ากระแสรั่วไหลระหว่างขาคอลเลกเตอร์
(C) และขาอิมิตเตอร์ (E)
ของตัวทรานซิสเตอร์เมื่อขาเบส (B) เปิดลอย ขณะตั้งย่านวัดโอห์ม (Ω) ที่ x 1 (150 mA), x 10 (15 mA) และยังใช้แสดงค่ากระแสภาระ
(Load Current) ในการวัดไดโอด (LI) ใช้สำหรับอ่านกระแสภาระที่วัดไดโอดด้วยย่านวัดโอห์ม
เป็นทั้งการวัดกระแสไฟไบอัสตรงและกระแสไบอัสกลับ
หมายเลข 6 คือสเกลใช้แสดงค่าแรงดันภาระ (Load Voltage) ในการวัดไดโอด
(LV) ใช้สำหรับอ่านแรงดันภาระที่วัดไดโอดด้วยย่านวัดโอห์ม
เป็นทั้งการวัดกระแสไบอัสตรงและไบอัสสลับ เช่นเดียวกับการวัด LI
หมายเลข 7 คือสเกลใช้แสดงค่าความดังของสัญญาณเสียงบอกค่าการวัดออกมาเป็นเดซิเบล
(dB) ใช้สำหรับอ่านค่าของสัญญาณสียง
เมื่อตั้งย่านวัดที่แรงดันไฟฟ้าสลับ หรือย่าน ACV
หมายเลข 8 คือกระจกเงา
เพื่อให้การอ่านค่าบนสเกลที่แสดงด้วยเข็มชี้ของมิเตอร์ถูกต้องที่สุด การอ่านค่าที่ถูกต้องคือตำแหน่งที่เข็มชี้ของมิเตอร์จริงกับตำแหน่งเข็มชี้ของมิเตอร์ในกระจกเงาซ้อนกันพอดี
คำถาม:สเกลใช้แสดงค่าอัตราขยายกระแสไฟตรงของตัวทรานซิสเตอร์คืออะไร เราต้องตอบยังไง
ตอบลบ