อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่รอบนิวเคลียสเป็นวงโคจร
โดยมีแรงเหวี่ยงออกจากจุดศูนย์กลางแต่เนื่องจากถูกแรงดึงดูดของโปรตอนในนิวเคลียสดึงดูด
ทำให้อิเล็กตรอนวิ่งเคลื่อนที่รอบนิวเคลียสเป็นวงโคจร
ที่มีระดับคงที่ระยะห่างเป็นวงๆ หลายระดับหลายระยะห่าง
ขึ้นอยู่กับจำนวนอิเล็กตรอนและโปรตอนในแต่ละอะตอมของวัตถุธาตุ
โครงสร้างภายนอกของวัตถุธาตุหรือสสารแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน
ทั่งนี้เป็นเพราะว่าโครงสร้างแต่ละอะตอมของวัตถุธาตุหรือสสารแต่ละชนิดมีจำนวนโปรตอน
นิวตรอน และอิเล็กตรอนไม่เท่ากัน ดังนั้นเมื่อรวมตัวเป็นโมเลกุล
หรือรวมเป็นวัตถุหรือสสาร ย่อมทำให้โครงสร้างภายนอกที่เห็นแตกต่างกันไป
ตัวอย่างอะตอมเช่น 1 อะตอมของฮีเลียม มีโปรตอน 2 ตัว และอิเล็กตรอน 2 ตัว หรือ 1
อะตอมของอะลูมิเนียม
จะเห็นได้ว่าอิเล็กตรอนที่วิ่งเคลื่อนที่รอบนิวเคลียสนั้นถูกบรรจุไว้เป็นวงๆแต่ละวงโคจรสามารถบรรจุอิเล็กตรอนไม่เท่ากัน
การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียสนั้น ในความเป็นจริงไม่ได้วิ่งเคลื่อนที่เประบบ
แต่จะวิ่งเคลื่อนที่รอบนิวเคลียสในทุกๆทาง แสดงดังรูป
การจัดการจำนวนอิเล็กตรอนที่วิ่งเคลื่อนที่ในแต่ละวงโคจรจะมีความแตกต่างกันไป
มาตรฐานของจำนวนอิเล็กตรอนในแต่ละวง สามารถทราบได้โดยใช้สูตรดังนี้
เมื่อ N
= ลำดับที่วงโคจรที่อยู่ห่างออกไปจากนิวเคลียส
ลำดับวงโคจรของอิเล็กตรอนที่วิ่งรอบนิวเคลียสจะถูกเรียกว่า
ชั้นของวงโคจร (Shell) ถูกกำกับด้วยตัวอักษรเป็นลำดับจากค่าน้อย
(วงที่ติดนิวเคลียส) ไปหาค่ามาก (วงที่อยู่ห่างนิวเคลียสมากที่สุด)
เรียงลำดับจากตัวอักษรคือ K,L,M,N,O,P และ Q หรือแทนค่าด้วยตัวเลขตามชั้นวงโคจรได้เป็น 1,2,3,4,5,6 และ 7 ชั้นวงโคจรแทนค่าด้วยตัวอักษร แสดงดังรูป
เมื่อนำสูตรการหาจำนวนอิเล็กตรอนมากที่สุดของวงโคจรมาแทนค่าด้วยลำดับชั้นของวงโคจร
จะสามารถทราบจำนวนอิเล็กตรอนที่บรรจุได้มากสุดออกมา แสดงตัวอย่างการคำนวณได้ดังนี้
จากตัวอย่างการคำนวณหาค่าจำนวนมากที่สุดของอิเล็กตรอนที่บรรจุได้ในแต่ละชั้นของวงโคจร
พบว่าชั้นที่ติดกับนิวเคลียสสามารถบรรจุอิเล็กตรอนได้น้อยที่สุด
และแต่ละชั้นที่ห่างออกมาสามารถบรรจุอิเล็กตรอนได้เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ
ทั้งนี้เพราะระดับพลังงานของอิเล็กตรอนในอะตอม ถ้าอยู่ใกล้นิวเคลียสจะมีพลังงานต่ำ
ถ้าอยู่ห่างจากนิวเคลียสจะมีพลังงานสูง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น