การนวดหัวใจ
เมื่อพบว่าหัวใจของผู้ป่วยหยุดเต้น
โดยฟังเสียงการเต้นของหัวใจ และการจับชีพจรดูการเต้นของหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบ
ที่ข้อพับแขนหรือข้อมือ ต้องรีบทำการช่วยให้หัวใจกลับเต้นขึ้นมาทันทีด้วยการนวดหัวใจ
มีวิธีการปฏิบัติดังนี้
1.ให้ผู้ป่วยนอนราบกับพื้นแข็งๆหรือใช้ไม้กระดานรองที่หลังของผู้ป่วย
ผู้ปฐมพยาบาลคุกเข่าลงด้านขวาหรือด้านซ้ายบริเวณหน้าอกผู้ป่วย
คลำหาส่วนล่างสุดของกระดูกอกที่ต่อกับกระดูกซี่โครง โดยใช้นิ้วสัมผัสชายโครงไล่ขึ้นมา
ถ้าคุกเข่าด้านขวาใช้มือคลำหากระดูกอก
หากคุกเข่าด้านซ้ายใช้มือซ้ายคลำกระดูกอกตำแหน่งส่วนล่างสุดของกระดูกอก
2.เมื่อนิ้วสัมผัสชายโครงแล้ว
เลื่อนนิ้วมาตรงกลางจนกระทั่งนิ้วนางปลายกระดูกหน้าอกได้
ให้ปลายนิ้วกลางวางบนกระดูกหน้าอกต่อจากนิ้วนาง
3.วางมืออีกข้างทับบนหลังมือที่วางในตำแหน่งที่ถูกต้อง
เหยียดนิ้วมือตรงและเกี่ยวนิ้วมือ 2 ข้างเข้าด้วยกัน
เหยียดแขนตรงโน้มตัวตั้งฉากกับอกผู้ป่วยให้กระดูกลดระดับลง 1.5-2 นิ้ว
เมื่อกดสุดให้ผ่อนมือทันที โดยที่ตำแหน่งมือไม่ต้องเลื่อนจากจุดที่กำหนด
ขณะกดหน้าอกนวดหัวใจ ห้ามใช้นิ้วมือกดลงบนซี่โครงผู้ป่วย
4.ขณะกดหน้าอกแต่ละครั้งต้องนับจำนวนครั้งที่กดดังนี้
หนึ่ง และสอง และสาม และสี่ และห้า....โดยกดหน้าอกทุกครั้งที่นับตัวเล็ก
และปล่อยมือตอนคำว่า ”และ” สลับกันไป ให้ได้อัตราการกดประมาณ 90-100 ครั้ง/นาที
5.ถ้าผู้ปฏิบัติมีคนเดียว ให้นวดหัวใจ 15 ครั้ง
สลับกับการเป่าปาก 2 ครั้ง ทำสลับกันเช่นนี้จนครบ 4 รอบแล้วตรวจชีพจรและการหายใจ
หากคลำชีพจรไม่ได้ต้องนวดหัวใจต่อ
แต่ถ้าคลำชีพจรได้และยังไม่หายใจต้องเป่าปากต่อไปอย่างเดียว
6.ถ้ามีคนปฏิบัติ 2 คน ให้นวดหัวใจ 5 ครั้ง สลับกับการเป่าปาก
1 ครั้ง โดยขณะที่เป่าปาก อีกคนต้องหยุดนวดหัวใจ
7.ในเด็กอ่อนหรือเด็กแรกเกิด
การนวดหัวใจใช้นิ้วเพียง 2 นิ้ว
กดบริเวณกึ่งกลางกระดูกหน้าอกให้ได้อัตราการกดประมาณ 100-120 ครั้ง/นาที
8.การนวดหัวใจต้องทำอย่างระมัดระวังและถูกวิธี
มิเช่นนั้นอาจทำให้กระดูกซี่โครงหักตับและม้ามแตกได้
โดยเฉพาะในเด็กเล็กต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น